วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสร้าง Library ในโปรแกรม DipTrace

สำหรับการออกแบบ PCB นั้น บางครั้งอาจพบว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการใช้ในการออกแบบอาจไม่มีอยู่ใน Library ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราจะกล่าวในบทความฉบับนี้ โดยขั้นตอนการสร้าง Library จะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักคือ การสร้าง Footprint และการสร้าง Symbol1
  1. การสร้าง Footprint เพื่อนำไปใช้ออกแบบลายวงจร อันดับแรกนั้นเราควรจะรู้ขนาด กว้างxยาว และขนาดรูของอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะได้จาก datasheet หรือใช้ไม้บรรทัดวัดครับ โดยที่การสร้าง Footprint นั้นจะมีขั้นตอนดังนี้ครับ
    1.1 เปิดโปรแกรม Pattern Editor.exe
    1.2 วาดตัวอุปกรณ์จากนั้นก็ใส่ Pad หรือที่สำหรับบัดกรีอุปกรณ์
    1.3 คลิกขวาที่ Pad เลือก Properties... > Type/Dimensions > Pattern's Pad Properties... เพื่อกำหนดขนาดของรูและขนาด Pad
    1.4 ใส่ชื่ออุปกรณ์ในช่อง Name และอักษรย่อเพื่ออ้างอิง ResDes
    1.5 Save พร้อมกับใส่ชื่อของ library ที่ช่อง Name และใส่ชื่อย่อที่ช่อง Hint
    2
  2. การสร้าง Symbol เพื่อนำไปใช้ออกแบบ Schematic ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการรวม Footprint กับ Symbol เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Integrated Library โดยจะมีขั้นตอนดังนี้ครับ
    2.1 เปิดโปรแกรม Component Editor.exe
    2.2 วาด Symbol ของอุปกรณ์พร้อมกับใส่ Pin เพื่อเป็นขั้วให้กับอุปกรณ์
    3
    2.3 ใส่ชื่ออุปกรณ์ (Name) และอักษรย่อเพื่ออ้างอิง (ResDes)
    2.4 คลิก Pattern
    2.5 จากนั้นคลิก Add เพื่อเลือกไฟล์ Footprint ที่ได้สร้างไว้
    4
    2.6 เสร็จแล้วเลือก Footprint จากนั้นคลิก OK
    2.7 Save พร้อมกับใส่ชื่อของ Library ที่ช่อง Name และใส่ชื่อย่อที่ช่อง Hint
เพียงเท่านี้ก็เราก็สามารถสร้าง Library ในโปรแกรม DipTrace เพื่อเก็บไว้ใช้งานได้แล้วครับ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม DipTrace เบื้องต้น ตอนที่ 2

จากบทความก่อนได้กล่าวถึงการใช้โปรแกรม DipTrace เบื้องต้น การเพิ่ม Library และการออกแบบ Schematic ด้วยโปรแกรม DipTrace โดยยกตัวอย่างวงจร 
1Differential Amplifier ซึ่งในบทความฉบับนี้ก็จะนำเสนอการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์หรือ PCB โดยจะใช้ไฟล์ Schematic ที่ได้จากบทความก่อน โดยมีลำขั้นตอนดังนี้
  1. เปิดโปรแกรม PCB Layout.exe  แล้วให้ไปที่ File > Renew Design from Schematic > By Components... จากนั้นเลือกไฟล์ Schematic ที่ได้สร้างไว้แล้ว โปรแกรมจะทำการถ่ายโอนอุปกรณ์ให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปออกแบบ PCB ดังรูปซึ่งจะเห็นว่ามีเส้นอ้างอิงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์หรือ Net แสดงอยู่

  2. ไปที่ Route > Lock Net Structure เพื่อล็อคไม่ให้สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นอ้างอิงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์หรือ Net ได้

  3. จัดวางอุปกรณ์หรือ Footprint เพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อต่อลยวงจร และในขณะที่เปลี่ยนตำแหน่งอุปกรณ์แต่ละตัวนั้นให้กดปุ่มคีย์ลัด F12 เพื่อให้เส้นอ้างอิงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์แสดงระยะทางการเชื่อมต่อที่ใกล้ที่สุด

    3
  4. เลือกด้านของ PCB ที่จะเดินลายวงจรให้เป็นด้านล่างของแผ่น PCB โดยกดปุ่มคีย์ลัด 2 หรือคลิกเลือกจาก Tool bar ให้เป็น Bottom

  5. คลิก 2 หรือ Route Manual จากนั้นคลิกที่ขาของ Footprint หรือ Pad ของอุปกรณ์เพื่อเดินลายวงจร ในขณะเดียวกันเมื่อคลิกขวาหรือกดปุ่มคีย์ลัด W จะปรากฏหน้าหน้าต่างให้เลือกขนาดของลายวงจรหรือ Trace ดังรูป จากนั้นเดินลายวงจรลายวงจรให้เสร็จสมบูรณ์
อย่างไรก็ดี การออกแบบ PCB นั้นควรจะคำนึงถึงและออกแบบให้สอดคล้องกับกระแสที่ไหลในวงจร และแรงดันที่ตกคร่อมในวงจรให้เป็นไปตามมารตฐานที่รองรับ ยกตัวอย่างเช่น IPC Standard เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขัดข้องเมื่อนำไปใช้งานเช่น ลายทองแดงขาดหรือไหม้ซึ่งเกิดจากกระแสไหลเกินที่ขนาดลายทองแดงจะรับไหว หรือเกิดการ Breakdown ระหว่างลายทองแดงซึ่งเกิดจากแรงดันสูงเป็นต้น เบื้องต้นนั้น IPC Standard ได้แนะนำขนาดของลายทองแดง และระยะระหว่างลายทองแดงสำหรับวงจรทั่วไปไว้ดังนี้

PCBTrackWidth
PCBElectricalClearance

สำหรับไฟล์ PCB ตัวอย่างของวงจร Differential Amplifier นั้นสามารถดาวน์โหลดได้จาก Diff Amp.dip และมีวีดีโอตัวอย่างดังด้านล่างครับ

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม DipTrace เบื้องต้น ตอนที่ 1


ในบทความก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงขั้นตอนการออกแบบ PCB เบื้องต้น ซึ่งได้แก่ 1) ออกแบบ Schematic 2) ออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์หรือ PCB 3) กัดลายทองแดงหรือสร้างแผ่น PCB  และในบทความฉบับนี้เรากล่าวถึงรายละเอียดของการใช้งานโปรแกรม DipTrace เบื้องต้น สำหรับการออกแบบ PCB โดยจะเริ่มต้นจากการเพิ่ม Library สำหรับอุปกรณ์ดังนี้
  1. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเปิดโปรแกรม Schematic.exe ขึ้นมาจะเห็นว่า Library หรือรายการอุปกรณ์ที่มีมากับโปรแกรมนั้นมีมากมายซึ่งทำให้ยากต่อการเลือกอุปกรณ์มาใช้งาน ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานจึงควรจะเลือกเฉพาะ Library ที่จำเป็นต่อการใช้งาน ซึ่งทาง SmallLab เองได้สร้าง Library ขึ้นมาเองโดยจะมีเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานอันได้แก่ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ไดโอด และคอนเนคเตอร์ เป็นต้น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก DipTrace_LIB.rar เมื่อทำการโหลดไฟล์และ Extract file เรียบร้อยแล้วให้ไปที่ Manu bar > Library > Library Setup ซึ่งโปรแกรมจะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาดังรูป

    1
    1.1 ทำเครื่องหมายถูกที่ Get Libraries from Folder

    1.2 คลิกเพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ Library ไว้ เมื่อเลือกโฟลเดอร์เสร็จแล้วให้คลิก OK

    1.3 จากนั้นคลิก Close เพื่อปิดหน้าต่าง Library Setup
    4



    3


    จะเห็นแถบ Library สำหรับเลือกใช้อุปกรณ์ปรากาฏขึ้นมาใต้ Menu Bar ซึ่งเมื่อคลิกก็จะปรากฏรายการอุปกรณ์ขึ้นมาที่แถบด้านซ้านมือเพื่อให้เลือกใช้ตามขนาดที่ต้องการ และด้านล่างจะแสดง Footprint ของอุปกรณ์แต่ละตัวที่ได้ทำการเลือก


  2. ขั้นตอนต่อมาเป็นการสร้าง Sheet หรือพื้นที่สำหรับวาด Schematic ให้ไปที่ Manu bar > File > Titles and  Sheet Setup จะปรากาฏหน้าต่างขึ้นมาดังรูป

    2.1 ทำเครื่องหมายถูกที่ Display Titles และ Display Sheet ดังรูป

    2.2 คลิก Close เพื่อปิดหน้าต่าง Titles and Sheet Setup จากนั้นจะปรากฏ Sheet สำหรับวาดวงจรหรือ Schematic

  3. 2
    ทำการออกแบบวงจร ซึ่งจะยกตัวอย่างวงจร Differential Amplifier โดยใช้ Op-Amp เบอร์ LM318 ซึ่งมีอยู่ใน Library ของ TI ซึ่งมีมากับโปรแกรมนั่นเอง ทำการจัดวางอุปกรณ์และเชื่อมต่อเข้าด้วยกันดังรูป
    5
    จากนั้นคลิก Save เพียงเท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนของการออกแบบ Schematic แล้วครับ สำหรับไฟล์ตัวอย่างนั้นสามารถโหลดได้ที่ Diff Amp.dch และ Diff Amp.pdf
นอกจากนี้ยังสามารถดูได้จากวีดีโอตัวอย่างด้านล่างครับ สำหรับบทความต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบลายวงจรหรือ PCB โดยจะยังใช้วงจรเดิมครับ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการออกแบบ PCB เบื้องต้น

การออกแบบ PCB หรือแผ่นวงจรพิมพ์นั้น จะแบ่งขั้นตอนออกเป็นแบบคร่าวๆคือ 1) ออกแบบ Schematic 2) ออกแบบ ลายวงจรหรือ PCB 3) กัดลายทองแดงหรือ สร้างแผ่น PCB

  1. ในโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อสำหรับออกแบบ PCB นั้นจะมีส่วนของ Schematic Design ซึ่งมีไว้สำหรับวาดวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการจะออกแบบ PCB ลงไปในส่วนนี้ โดยในตัวโปรแกรมเองจะมี Symbol หรือสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ใน library สำหรับให้วาดวงจร เมื่อเราวาดวงจรเสร็จแล้วก็จะต้องทำการแปลง Scematic ไปในส่วนของ PCB
  2. จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ เมื่อเราวาดวงจรหรือ Schematic เรียบร้อยแล้ว เราก็จะทำการแปลงให้มาอยู่ในส่วนของ PCB Design ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆก็จะถูกแปลงให้เป็นรูปร่างที่สอดคล้องกับอุปกรณ์จริงหรือที่เราเรียกว่า Footprint นั่นเอง  พร้อมกับเส้นอ้างอิงการเชื่อมต่อระหว่างขาของอุปกรณ์ต่างๆหรือที่เราเรียกว่า Netlist ซึ่งในส่วนของขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการเดินลายทองแดงหรือ Trace เชื่อมระหว่างขาของอุปกรณ์แต่ละตัว พร้อมกับทำการจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ และกำหนดขนาดของแผ่น PCB เมื่อทำการออกแบบลายวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะสร้างหรือกัดแผ่นทองแดงให้เป็นลายวงจรในขั้นตอนต่อไป
  3. การสร้าง PCB นั้นมีลายวิธีอาทิเช่น ใช้ Dryfilm, Toner transfer, ใช้เครื่อง CNC และ การยิง film เป็นต้น ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมและสามารถทำเองได้โดยใช้ต้นทุนต่ำได้แก่ วิธีใช้ Dryfilm และ Toner transfer ซึ่งจะใช้ฟิล์มหรือหมึกของเครื่องปริ้นเลเซอร์ปิดบริเวณลายวงจรที่ได้ทำการออกแบบไว้ จากนั้นจะใช้น้ำยาที่มีคุณสมบัติละลายทองแดงมากัดบริเวณที่ไม่โดนฟิล์มหรือหมึกปกปิดไว้ให้เหลือเพียงลายวงจรที่ต้องการ

ขั้นตอนการออกแบบ PCB สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้นั้น ในขั้นตอนที่ 2 อาจจะใช้เวลามากพอสมควร แต่เมื่อผ่านการออกแบบลายวงจรหลายๆวงจรจนชำนาญแล้ว ก็จะใช้เวลาในการออกแบบไม่นาน การเรียนรู้การออกแบบ PCB นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะทางวิชาชีพอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในสายวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องอีกด้วยครับ

Keywords Tags: , ,

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)



PCB PCB (Printed Circuit Board) หรือแผ่นวงจรพิมพ์เกิดจากการนำแผ่นทองแดงที่ถูกเคลือบอยู่บนวัสดุฉนวนไฟฟ้ามากำจัดทองแดงบางส่วนออกให้เหลือเพียงส่วนที่ต้องการจะเชื่อมต่อขั้วของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละตัวเข้าด้วยกันตามวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งในบางครั้งนิยมเรียกว่า PWB (Printed Wiring Board) อีกด้วย จากนั้นเมื่ออุปกรณ์ต่างๆถูกติดตั้งลงไปบนแผ่นวงจรพิมพ์กระทั้งเสร็จสิ้นเป็นวงจรที่สมบูรณ์แล้วนั้น จะถูกเรียกว่า PCA (Printed Circuit Assembly) หรือ PCBA (Printed Circuit Board Assembly) ปัจจุบันแผ่นวงจรพิมพ์ถูกนำมาใช้ในงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมในส่วนของการวิจัย พัฒนา และผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และสินค้าอื่นๆที่มีวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ (รูปที่ 1 จาก www.custompcb.com)
The radio before World War II
ประวัติความเป็นมาของแผ่นวงจรพิมพ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เริ่มมีการใช้งานเครื่องวิทยุค่อนข้างแพร่หลาย ขณะนั้นในส่วนของภาควงจรวิทยุยังใช้วิธีการนำสายไฟมาบัดกรีเชื่อมต่อกับขั้วของอุปกรณ์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ในช่วงเวลาเดียวนายพอล อิสเลอร์ (Paul Eisler) นักประดิษฐ์ชาวออสเตรเลียซึ่งทำงานเกี่ยวกับการออกแบบวงจรวิทยุในประเทศอังกฤษได้มีแนวคิดที่จะพยายามลดขนาดของวิทยุ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จึงได้ริเริ่มคิดทำแผ่นวงจรพิมพ์ขึ้นมาใช้สำหรับวงจรวิทยุ (รูปที่ 2 และ รูปที่ 3 จาก www.ami.ac.uk/courses/ami4809_pcd/unit_01)
Early Printed Circuit Board
จากนั้นในช่วงประมาณ ค.ศ. 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นวงจรพิมพ์ก็ได้ถูกนำมาถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแผ่นวงจรพิมพ์แบบด้านเดียว (Single-Sided Board) โดยลายวงจรแต่ละด้านถูกออกแบบด้วยวิธีการแกะสติกเกอร์ด้วยมือและใช้กรดกำจัดแผ่นทองแดงส่วนที่ไม่ต้องการออกไปให้เหลือเพียงส่วนของลายวงจรเท่านั้น ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1960 - 1970 เทคโนโลยีในการเคลือบทองแดงลงบนผนังภายในรูเจาะของแผ่นวงจรพิมพ์ได้ถูกพัฒนาจนกระทั้งสามารถสร้างแผ่นวงจรพิมพ์แบบสองด้าน (Double-Sided Board) ต่อจากนั้นในช่วงประมาณ ค.ศ. 1970 - 1980 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้เริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CAD) และการสร้างแผ่นวงจรพิมพ์แบบมัลติเลเยอร์ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนั้นสามมารถทำได้มากกว่า 32 เลเยอร์
PCB Design (รูปที่ 4 จาก http://www.diptrace.com/screenshots.php)
References
[1] เว็บไชต์ http://en.wikipedia.org/wiki/Printed_circuit_board
[2] เว็บไชต์ http://www.ami.ac.uk/courses/ami4809_pcd/unit_01/
Keywords Tags: , , , ,

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะผลตอบสนองทางความถี่โดยโปรแกรม LTspice


กล่าวถึงการจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บ่อยครั้งจำเป็นต้องทราบถึงผลตอบสนองของวงจรที่มีต่อความถี่อาทิเช่น วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน (Low-pass filter) เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการวิเคราะห์ผลตอบสนองทางความถี่ของวงจร RC Low-pass filter โดยจะทำ Bode Plot เพื่อหาความถี่คัตออฟของวงจรกรองความถี่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกขวาที่แหล่งจ่ายแรงดัน
  2. คลิก Advanced
    4-1
  3. ในช่อง AC Amplitude ใส่ค่าเป็น 1 และช่อง AC Phase ใส่ค่าเป็น 0 จากนั้นคลิก OK4-2
  4. ไปที่ Simulate -> Edit Simulation Cmd
    4-3
  5. เลือกที่แถบ AC Analysis
    ในช่อง Type of Sweep เลือก Decade
    ในช่อง Number of point per decade ให้ใส่ค่าความละเอียดของจำนวนจุดต่อช่อง log scale
    ในช่อง Start Frequency ให้ใส่ค่าความถี่เริ่มต้น
    ในช่อง Stop Frequency ให้ใส่ค่าความถี่สิ้นสุดของ Bode Diagram
    4-4  
  6. คลิก Run Simulation จากนั้นคลิกจุดที่ต้องการจะวิเคราะห์ในวงจร ซึ่งจะได้ Bode Diagram ดังรูป โดยมีเส้นทึบคือ Gain Plot และเส้นประคือ Phase Plot เพียงเท่านี้ก็จะสามารถหาความถี่คัตออฟของวงจรแล้วครับ :)
    4-5 
การหาผลตอบสนองทางความถี่นั้นสามารถทำได้หลากหลายเช่น Bode Plot Nyquist และอื่นๆ ซึ่งอาจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Reference ครับ
References
Keywords Tags: ,

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเพิ่ม Spice Model ให้กับโปรแกรม LTspice


การใช้โปรแกรม LTspice สำหรับจำลองการทำงานของวงจรนั้น อุปกรณ์ที่มีอยู่ใน Library อาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในการจำลองการทำงานบางครั้งจึงอาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มอุปกรณ์บางตัวซึ่งไม่มีอยู่ใน Library เข้ามาเพื่อใช้งาน ซึ่งวิธีการเพิ่มอุปกรณ์ที่จะนำเสนอในบทความนี้เรียกว่า Adding Spice Model โดยจะนำเสนอตัวอย่างการเพิ่มอุปกรณ์ Op Amp TL082 ในบทความนี้ครับ
  1. คลิก Place Component หรือกดปุ่ม Shortcut Key “F2” เพื่อเลือกอุปกรณ์ Op Amp
  2. เลือกอุปกรณ์ opamp2 ดังรูป
    1
  3. การ Add Spice Model นั้นจะต้องมี Text File หรือ Spice Model ของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะสามารถค้นหาได้จาก Google โดยใช้ Keywords: spice model TL082 แต่สำหรับตัวอย่างนี้จะโหลด Spice Model มาจาก http://focus.ti.com/docs/prod/folders/print/tl082.html
    2
  4. เมื่อโหลดมาเสร็จแล้วให้ทำการ Extract File จากนั้นทำการเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์เป็น .MOD ดังรูป
    3
  5. ทำการเปิดไฟล์ TL082.MOD ด้วยโปรแกรม WordPad จะสังเกตเห็นข้อความข้างหลังข้อความ .SUBCKT ดังรูป ซึ่งจะเป็นชื่อของอุปกรณ์มีทำหน้าที่ไว้สำหรับอ้างอิงระหว่างโปรแกรม LTspice กับ Text File
    4
  6. กดปุ่ม Ctrl + คลิกขวา ที่ตัวอุปกรณ์ Op Amp จากนั้นในช่อง Prefix ให้ใส่ค่าเป็น X
  7. พิมพ์ข้อความที่ได้จากขั้นตอนที่ 5 ลงไปในช่อง Value จากนั้นกดปุ่ม OK
    5
  8. กดปุ่ม Shortcut Keys “S” จากนั้นให้พิมพ์ .include “ที่อยู่ของไฟล์ Spice Model” ดังตัวอย่าง เสร็จแล้วคลิก OK
    6
  9. เพียงเท่านี้ก็จะได้อุปกรณ์ Op Amp TL082 ไว้ใช้งานแล้วครับ :)
    7
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นสามารถศึกษาได้จาก References ซึ่งการ Add Spice Model นั้นอาจจะสามารถทำได้หลากหลายวิธี หรือแม้กระทั้งสามารถสร้าง Symbol และสร้าง Text File ขึ้นมาเองก็ทำได้ครับ
References
[1] เอกสาร http://my.ece.ucsb.edu/bobsclass/194/References/SPICE_3rd_party_models.pdf
[2] เอกสาร http://www.denverpels.org/Downloads/Denver_PELS_20090519_Knudtsen_LTSpice_Intro.pdf
[3] เว็บไชต์ http://ltspicelabs.blogspot.com/2006/10/adding-downloaded-models.html
[4] เว็บไชต์ http://www.simonbramble.co.uk/lt_spice/ltspice_lt_spice_tutorial_4.htm

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม LTspice เบื้องต้น


โปรแกรม “LTspice” เป็นโปรแกรมประเภท SPICE (Simulation Program with Integrated Circuit Emphasis) ซึ่งจะนำมาใช้สำหรับจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะสามารถเริ่มต้นใช้งานไดดังนี้
  1. คลิกที่ New Schematic เพื่อสร้างพื้นสำหรับวาดวงจรใหม่
    1โดยที่ตัวโปรแกรมจะมีแถบเครื่องเมือพื้นฐานสำหรับวาดวงจรดังนี้

    2
  2. ทำการวาดวงจรที่ต้องการจำลองการทำงาน3
  3. คลิกขวาที่ตัวอุปกรณ์เพื่อกำหนดค่าของอุปกรณ์ R และ C โดยที่ค่าของตัวเก็บประจุจะกำหนดเป็นเลขยกกำลัง (1e-6 มีค่าเท่ากับ 1x10-6 หรือมีค่าเท่ากับ 1 ไมโคร)
    4
  4. คลิกขวาที่แหล่งจ่ายแรงดัน จากนั้นเลือก Advanced
    5
  5. เลือก SINE เพื่อกำหนดให้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ จากนั้นกำหนดค่าต่างๆของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
    6
  6. คลิกที่ Run Simulation เพื่อเริ่มการจำลองการทำงาน และกำหนดช่วงเวลาในการจำลองการทำงานในช่อง Stop Time
    7
  7. นำเมาส์ไปคลิกในจุดที่ต้องการจะวัดสัญญาณแรงดันดังรูป จากนั้นโปรแกรมจะปรากฏรูปคลื่นของแรงดันที่จุดนั้น
    8
  8. นำเมาส์ไปคลิกอุปกรณ์ที่ต้องการจะวัดสัญญาณกระแสที่ไหลผ่านดังรูป จากนั้นโปรแกรมจะปรากฏรูปคลื่นของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์นั้น
    9
References
[1] เอกสาร http://ltspice.linear.com/software/LTspiceGettingStartedGuide.pdf
[2] เว็บไชต์ http://denethor.wlu.ca/ltspice/
[3] เว็บไชต์ http://en.wikipedia.org/wiki/LTspice

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Introduction to the SmallLab.

ในปัจจุบันนั้นเรื่องราวอันเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถูกสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มที่จะถูกต่อเติมเข้ามาอยู่ในเรื่องราวของการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ อันได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ทีวี โทรศัพท์มือถือ เครื่องเสียง เป็นต้น ดังนั้นความรู้อันเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว ซึ่งควรแก่การเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำเนิด “แล็บออนไลน์” แห่งนี้ขึ้นมา โดยมุ่งหวังเพื่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ด้านการทดลองวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเกิดทักษะพื้นฐาน ซึ่งอาจจะเป็นก้าวเล็กๆที่นำไปสู่อาชีพของนักวิจัยก็เป็นได้    
“SmallLab” แห่งนี้จะเน้นไปในเรื่องของการทดลองและแบ่งปันความรู้อันเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะอาศัยซอฟท์แวร์ที่เป็นฟรีโปรแกรมเป็นเครื่องมือในการทดลอง ได้แก่
  • โปรแกรม “LTspice” ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท SPICE (Simulation Program with Integrated Circuit Emphasis) โดยจะถูกนำมาใช้เป็นโปรแกรมสำหรับจำลองการทำงานและวิเคราะห์การทำงานในส่วนของวงจรที่เป็นอนาล็อก (Analog Circuit)

  • โปรแกรม “Diptrace” เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board: PCB or Printed Wiring Board: PWB) โดยจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบแผ่นลายวงจรพิมพ์เพื่อใช้ในการทดลองจริง

SmallLab จะยึดเพียงสองโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมหลักสำหรับการทดลองวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจจะมีฟรีโปรแกรมอื่นๆถูกนำมาใช้บ้างตามความเหมาะสม
หากมีความผิดพลาดประการณ์ในเวบล็อก SmallLab ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอน้อมรับคำชี้แนะ เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก่ไขให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกๆคำชม คำชี้แนะ และทุกๆท่านที่ให้ความสนใจ