วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการออกแบบ PCB เบื้องต้น

การออกแบบ PCB หรือแผ่นวงจรพิมพ์นั้น จะแบ่งขั้นตอนออกเป็นแบบคร่าวๆคือ 1) ออกแบบ Schematic 2) ออกแบบ ลายวงจรหรือ PCB 3) กัดลายทองแดงหรือ สร้างแผ่น PCB

  1. ในโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อสำหรับออกแบบ PCB นั้นจะมีส่วนของ Schematic Design ซึ่งมีไว้สำหรับวาดวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการจะออกแบบ PCB ลงไปในส่วนนี้ โดยในตัวโปรแกรมเองจะมี Symbol หรือสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ใน library สำหรับให้วาดวงจร เมื่อเราวาดวงจรเสร็จแล้วก็จะต้องทำการแปลง Scematic ไปในส่วนของ PCB
  2. จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ เมื่อเราวาดวงจรหรือ Schematic เรียบร้อยแล้ว เราก็จะทำการแปลงให้มาอยู่ในส่วนของ PCB Design ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆก็จะถูกแปลงให้เป็นรูปร่างที่สอดคล้องกับอุปกรณ์จริงหรือที่เราเรียกว่า Footprint นั่นเอง  พร้อมกับเส้นอ้างอิงการเชื่อมต่อระหว่างขาของอุปกรณ์ต่างๆหรือที่เราเรียกว่า Netlist ซึ่งในส่วนของขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการเดินลายทองแดงหรือ Trace เชื่อมระหว่างขาของอุปกรณ์แต่ละตัว พร้อมกับทำการจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ และกำหนดขนาดของแผ่น PCB เมื่อทำการออกแบบลายวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะสร้างหรือกัดแผ่นทองแดงให้เป็นลายวงจรในขั้นตอนต่อไป
  3. การสร้าง PCB นั้นมีลายวิธีอาทิเช่น ใช้ Dryfilm, Toner transfer, ใช้เครื่อง CNC และ การยิง film เป็นต้น ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมและสามารถทำเองได้โดยใช้ต้นทุนต่ำได้แก่ วิธีใช้ Dryfilm และ Toner transfer ซึ่งจะใช้ฟิล์มหรือหมึกของเครื่องปริ้นเลเซอร์ปิดบริเวณลายวงจรที่ได้ทำการออกแบบไว้ จากนั้นจะใช้น้ำยาที่มีคุณสมบัติละลายทองแดงมากัดบริเวณที่ไม่โดนฟิล์มหรือหมึกปกปิดไว้ให้เหลือเพียงลายวงจรที่ต้องการ

ขั้นตอนการออกแบบ PCB สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้นั้น ในขั้นตอนที่ 2 อาจจะใช้เวลามากพอสมควร แต่เมื่อผ่านการออกแบบลายวงจรหลายๆวงจรจนชำนาญแล้ว ก็จะใช้เวลาในการออกแบบไม่นาน การเรียนรู้การออกแบบ PCB นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะทางวิชาชีพอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในสายวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องอีกด้วยครับ

Keywords Tags: , ,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น