วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)



PCB PCB (Printed Circuit Board) หรือแผ่นวงจรพิมพ์เกิดจากการนำแผ่นทองแดงที่ถูกเคลือบอยู่บนวัสดุฉนวนไฟฟ้ามากำจัดทองแดงบางส่วนออกให้เหลือเพียงส่วนที่ต้องการจะเชื่อมต่อขั้วของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละตัวเข้าด้วยกันตามวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งในบางครั้งนิยมเรียกว่า PWB (Printed Wiring Board) อีกด้วย จากนั้นเมื่ออุปกรณ์ต่างๆถูกติดตั้งลงไปบนแผ่นวงจรพิมพ์กระทั้งเสร็จสิ้นเป็นวงจรที่สมบูรณ์แล้วนั้น จะถูกเรียกว่า PCA (Printed Circuit Assembly) หรือ PCBA (Printed Circuit Board Assembly) ปัจจุบันแผ่นวงจรพิมพ์ถูกนำมาใช้ในงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมในส่วนของการวิจัย พัฒนา และผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และสินค้าอื่นๆที่มีวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ (รูปที่ 1 จาก www.custompcb.com)
The radio before World War II
ประวัติความเป็นมาของแผ่นวงจรพิมพ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เริ่มมีการใช้งานเครื่องวิทยุค่อนข้างแพร่หลาย ขณะนั้นในส่วนของภาควงจรวิทยุยังใช้วิธีการนำสายไฟมาบัดกรีเชื่อมต่อกับขั้วของอุปกรณ์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ในช่วงเวลาเดียวนายพอล อิสเลอร์ (Paul Eisler) นักประดิษฐ์ชาวออสเตรเลียซึ่งทำงานเกี่ยวกับการออกแบบวงจรวิทยุในประเทศอังกฤษได้มีแนวคิดที่จะพยายามลดขนาดของวิทยุ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จึงได้ริเริ่มคิดทำแผ่นวงจรพิมพ์ขึ้นมาใช้สำหรับวงจรวิทยุ (รูปที่ 2 และ รูปที่ 3 จาก www.ami.ac.uk/courses/ami4809_pcd/unit_01)
Early Printed Circuit Board
จากนั้นในช่วงประมาณ ค.ศ. 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นวงจรพิมพ์ก็ได้ถูกนำมาถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแผ่นวงจรพิมพ์แบบด้านเดียว (Single-Sided Board) โดยลายวงจรแต่ละด้านถูกออกแบบด้วยวิธีการแกะสติกเกอร์ด้วยมือและใช้กรดกำจัดแผ่นทองแดงส่วนที่ไม่ต้องการออกไปให้เหลือเพียงส่วนของลายวงจรเท่านั้น ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1960 - 1970 เทคโนโลยีในการเคลือบทองแดงลงบนผนังภายในรูเจาะของแผ่นวงจรพิมพ์ได้ถูกพัฒนาจนกระทั้งสามารถสร้างแผ่นวงจรพิมพ์แบบสองด้าน (Double-Sided Board) ต่อจากนั้นในช่วงประมาณ ค.ศ. 1970 - 1980 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้เริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CAD) และการสร้างแผ่นวงจรพิมพ์แบบมัลติเลเยอร์ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนั้นสามมารถทำได้มากกว่า 32 เลเยอร์
PCB Design (รูปที่ 4 จาก http://www.diptrace.com/screenshots.php)
References
[1] เว็บไชต์ http://en.wikipedia.org/wiki/Printed_circuit_board
[2] เว็บไชต์ http://www.ami.ac.uk/courses/ami4809_pcd/unit_01/
Keywords Tags: , , , ,

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะผลตอบสนองทางความถี่โดยโปรแกรม LTspice


กล่าวถึงการจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บ่อยครั้งจำเป็นต้องทราบถึงผลตอบสนองของวงจรที่มีต่อความถี่อาทิเช่น วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน (Low-pass filter) เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการวิเคราะห์ผลตอบสนองทางความถี่ของวงจร RC Low-pass filter โดยจะทำ Bode Plot เพื่อหาความถี่คัตออฟของวงจรกรองความถี่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกขวาที่แหล่งจ่ายแรงดัน
  2. คลิก Advanced
    4-1
  3. ในช่อง AC Amplitude ใส่ค่าเป็น 1 และช่อง AC Phase ใส่ค่าเป็น 0 จากนั้นคลิก OK4-2
  4. ไปที่ Simulate -> Edit Simulation Cmd
    4-3
  5. เลือกที่แถบ AC Analysis
    ในช่อง Type of Sweep เลือก Decade
    ในช่อง Number of point per decade ให้ใส่ค่าความละเอียดของจำนวนจุดต่อช่อง log scale
    ในช่อง Start Frequency ให้ใส่ค่าความถี่เริ่มต้น
    ในช่อง Stop Frequency ให้ใส่ค่าความถี่สิ้นสุดของ Bode Diagram
    4-4  
  6. คลิก Run Simulation จากนั้นคลิกจุดที่ต้องการจะวิเคราะห์ในวงจร ซึ่งจะได้ Bode Diagram ดังรูป โดยมีเส้นทึบคือ Gain Plot และเส้นประคือ Phase Plot เพียงเท่านี้ก็จะสามารถหาความถี่คัตออฟของวงจรแล้วครับ :)
    4-5 
การหาผลตอบสนองทางความถี่นั้นสามารถทำได้หลากหลายเช่น Bode Plot Nyquist และอื่นๆ ซึ่งอาจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Reference ครับ
References
Keywords Tags: ,

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเพิ่ม Spice Model ให้กับโปรแกรม LTspice


การใช้โปรแกรม LTspice สำหรับจำลองการทำงานของวงจรนั้น อุปกรณ์ที่มีอยู่ใน Library อาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในการจำลองการทำงานบางครั้งจึงอาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มอุปกรณ์บางตัวซึ่งไม่มีอยู่ใน Library เข้ามาเพื่อใช้งาน ซึ่งวิธีการเพิ่มอุปกรณ์ที่จะนำเสนอในบทความนี้เรียกว่า Adding Spice Model โดยจะนำเสนอตัวอย่างการเพิ่มอุปกรณ์ Op Amp TL082 ในบทความนี้ครับ
  1. คลิก Place Component หรือกดปุ่ม Shortcut Key “F2” เพื่อเลือกอุปกรณ์ Op Amp
  2. เลือกอุปกรณ์ opamp2 ดังรูป
    1
  3. การ Add Spice Model นั้นจะต้องมี Text File หรือ Spice Model ของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะสามารถค้นหาได้จาก Google โดยใช้ Keywords: spice model TL082 แต่สำหรับตัวอย่างนี้จะโหลด Spice Model มาจาก http://focus.ti.com/docs/prod/folders/print/tl082.html
    2
  4. เมื่อโหลดมาเสร็จแล้วให้ทำการ Extract File จากนั้นทำการเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์เป็น .MOD ดังรูป
    3
  5. ทำการเปิดไฟล์ TL082.MOD ด้วยโปรแกรม WordPad จะสังเกตเห็นข้อความข้างหลังข้อความ .SUBCKT ดังรูป ซึ่งจะเป็นชื่อของอุปกรณ์มีทำหน้าที่ไว้สำหรับอ้างอิงระหว่างโปรแกรม LTspice กับ Text File
    4
  6. กดปุ่ม Ctrl + คลิกขวา ที่ตัวอุปกรณ์ Op Amp จากนั้นในช่อง Prefix ให้ใส่ค่าเป็น X
  7. พิมพ์ข้อความที่ได้จากขั้นตอนที่ 5 ลงไปในช่อง Value จากนั้นกดปุ่ม OK
    5
  8. กดปุ่ม Shortcut Keys “S” จากนั้นให้พิมพ์ .include “ที่อยู่ของไฟล์ Spice Model” ดังตัวอย่าง เสร็จแล้วคลิก OK
    6
  9. เพียงเท่านี้ก็จะได้อุปกรณ์ Op Amp TL082 ไว้ใช้งานแล้วครับ :)
    7
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นสามารถศึกษาได้จาก References ซึ่งการ Add Spice Model นั้นอาจจะสามารถทำได้หลากหลายวิธี หรือแม้กระทั้งสามารถสร้าง Symbol และสร้าง Text File ขึ้นมาเองก็ทำได้ครับ
References
[1] เอกสาร http://my.ece.ucsb.edu/bobsclass/194/References/SPICE_3rd_party_models.pdf
[2] เอกสาร http://www.denverpels.org/Downloads/Denver_PELS_20090519_Knudtsen_LTSpice_Intro.pdf
[3] เว็บไชต์ http://ltspicelabs.blogspot.com/2006/10/adding-downloaded-models.html
[4] เว็บไชต์ http://www.simonbramble.co.uk/lt_spice/ltspice_lt_spice_tutorial_4.htm

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม LTspice เบื้องต้น


โปรแกรม “LTspice” เป็นโปรแกรมประเภท SPICE (Simulation Program with Integrated Circuit Emphasis) ซึ่งจะนำมาใช้สำหรับจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะสามารถเริ่มต้นใช้งานไดดังนี้
  1. คลิกที่ New Schematic เพื่อสร้างพื้นสำหรับวาดวงจรใหม่
    1โดยที่ตัวโปรแกรมจะมีแถบเครื่องเมือพื้นฐานสำหรับวาดวงจรดังนี้

    2
  2. ทำการวาดวงจรที่ต้องการจำลองการทำงาน3
  3. คลิกขวาที่ตัวอุปกรณ์เพื่อกำหนดค่าของอุปกรณ์ R และ C โดยที่ค่าของตัวเก็บประจุจะกำหนดเป็นเลขยกกำลัง (1e-6 มีค่าเท่ากับ 1x10-6 หรือมีค่าเท่ากับ 1 ไมโคร)
    4
  4. คลิกขวาที่แหล่งจ่ายแรงดัน จากนั้นเลือก Advanced
    5
  5. เลือก SINE เพื่อกำหนดให้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ จากนั้นกำหนดค่าต่างๆของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
    6
  6. คลิกที่ Run Simulation เพื่อเริ่มการจำลองการทำงาน และกำหนดช่วงเวลาในการจำลองการทำงานในช่อง Stop Time
    7
  7. นำเมาส์ไปคลิกในจุดที่ต้องการจะวัดสัญญาณแรงดันดังรูป จากนั้นโปรแกรมจะปรากฏรูปคลื่นของแรงดันที่จุดนั้น
    8
  8. นำเมาส์ไปคลิกอุปกรณ์ที่ต้องการจะวัดสัญญาณกระแสที่ไหลผ่านดังรูป จากนั้นโปรแกรมจะปรากฏรูปคลื่นของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์นั้น
    9
References
[1] เอกสาร http://ltspice.linear.com/software/LTspiceGettingStartedGuide.pdf
[2] เว็บไชต์ http://denethor.wlu.ca/ltspice/
[3] เว็บไชต์ http://en.wikipedia.org/wiki/LTspice

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Introduction to the SmallLab.

ในปัจจุบันนั้นเรื่องราวอันเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถูกสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มที่จะถูกต่อเติมเข้ามาอยู่ในเรื่องราวของการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ อันได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ทีวี โทรศัพท์มือถือ เครื่องเสียง เป็นต้น ดังนั้นความรู้อันเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว ซึ่งควรแก่การเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำเนิด “แล็บออนไลน์” แห่งนี้ขึ้นมา โดยมุ่งหวังเพื่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ด้านการทดลองวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเกิดทักษะพื้นฐาน ซึ่งอาจจะเป็นก้าวเล็กๆที่นำไปสู่อาชีพของนักวิจัยก็เป็นได้    
“SmallLab” แห่งนี้จะเน้นไปในเรื่องของการทดลองและแบ่งปันความรู้อันเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะอาศัยซอฟท์แวร์ที่เป็นฟรีโปรแกรมเป็นเครื่องมือในการทดลอง ได้แก่
  • โปรแกรม “LTspice” ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท SPICE (Simulation Program with Integrated Circuit Emphasis) โดยจะถูกนำมาใช้เป็นโปรแกรมสำหรับจำลองการทำงานและวิเคราะห์การทำงานในส่วนของวงจรที่เป็นอนาล็อก (Analog Circuit)

  • โปรแกรม “Diptrace” เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board: PCB or Printed Wiring Board: PWB) โดยจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบแผ่นลายวงจรพิมพ์เพื่อใช้ในการทดลองจริง

SmallLab จะยึดเพียงสองโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมหลักสำหรับการทดลองวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจจะมีฟรีโปรแกรมอื่นๆถูกนำมาใช้บ้างตามความเหมาะสม
หากมีความผิดพลาดประการณ์ในเวบล็อก SmallLab ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอน้อมรับคำชี้แนะ เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก่ไขให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกๆคำชม คำชี้แนะ และทุกๆท่านที่ให้ความสนใจ